ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เซนุตเรสที่ 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เซนุสเรตที่ 4 เซเนเฟอร์อิบเร (อังกฤษ: Senusret IV) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในช่วงปลายสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่ 2 ซึ่งปรากฏหลักฐานยืนยันที่ถูกค้นพบเพียงแค่ในพื้นที่อียิปต์บนเท่านั้น โดยมีความไม่ชัดเจนในตำแหน่งตามลำดับเวลา รวมถึงราชวงศ์ของพระองค์เช่นกัน

ตำแหน่งตามลำดับเวลา

[แก้]

ตามการสันนิษฐานของเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ ได้ระบุให้ พระองค์เป็นฟาโรห์จากช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบสาม[4][5] ในขณะที่ รีฮอล์ตได้จัดให้พระองค์เป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบหก โดยมีตำแหน่งที่ไม่แน่นอนภายในราชวงศ์[6] อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง นอร์เบิร์ต เดาท์เซนเบิร์ก ได้เสนอความเห็นว่า พระองค์เป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบเจ็ด โดยข้อสมมติฐานของเดาท์เซนเบิร์กนี้มีพื้นฐานมาจากบันทึกพระนามแห่งตูรินในคอลัมน์ที่ 14 บรรทัดที่ 4 ซึ่งปรากฏพระนามที่เชื่อว่าเป็นฟาโรห์เซนุสเรตที่ 4 นอกจากนี้ เขายังระบุข้อความบนประตูของวิหารในเมดามุดที่กล่าวถึงฟาโรห์พระนามว่า "เซนุสเรต" ซึ่อาจจะเป็นฟาโรห์เซนุสเรตที่ 4 เนื่องจากประตูดังกล่าวได้รับการตกแต่งโดยฟาโรห์โซเบคเอมซาฟที่ 1 ซึ่งทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบเจ็ด[7] แต่รีฮอล์ตปฏิเสธข้อสันนิษฐานทั้งสองข้อ โดยในข้อแรก รีฮอล์ตได้ตั้งข้อสังเกตว่า บันทึกพระนามแห่งตูรินในคอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 4 ไม่สอดคล้องกับพระนามครองพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 4 และข้อที่สอง เขาสังเกตว่าประตูของวิหารในเทดามุดถูกโปรดให้สร้างขึ้นโดยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ดังนั้น การกล่าวถึงฟาโรห์พระนามว่า "เซนุสเรต" นั้นจึงน่าจะหมายถึง ฟาโรห์พระองค์นี้แทนที่จะเป็นฟาโรห์เซนุสเรตที่ 4 ในการจัดเรียงตำแหน่งฟาโรห์ใหม่นั้น[8] ยังคงไม่ชัดเจนเกี่ยวกับราชวงศ์ของพระองค์ โดยจะจัดให้อยู่ในช่วงกว้างๆ คือช่วงปลายของราชวงศ์ที่สิบสามจนถึงช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์

หลักฐานยืนยัน

[แก้]

ปรากฏพระนามของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 4 บนบันทึกพระนามแห่งคาร์นักในพระนามครองพระราชบัลลังก์พระนามว่า "เซเนเฟอร์[...]เร" และค้นพบหลักฐานยืนยันร่วมสมัยที่สำคัญที่สุดของพระองค์คือรูปสลักขนาดมหึมาขนาดสูง 2.75 เมตร แกะสลักด้วยหินแกรนิตสีชมพู และค้นพบในคาร์นักเมื่อปี ค.ศ. 1901 โดยฌอร์ฌ เลอแยง[9] ทั้งนี้ ยังค้นพบหลักฐานยืนยันชิ้นอื่นๆ ได้แก่ บล็อกศิลาจากเอ็ฏโฏด และมุมขวาบนของจารึกศิลาที่ค้นพบในปี ค.ศ. 1907 โดยเลอแยงในคาร์นัก โดยระบุช่วงเวลาในวันที่ 2 ฤดูเชมู เดือนที่ 1ของปีที่หนึ่งแห่งการครองราชย์ของพระองค์[6] ค้นพบทับหลังจากเอ็ดฟู และใบมีดขวาน ซึ่งปรากฏพระนาม เซนุสเรต ซึ่งอาจจะเป็นพระนามของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 4 ตามการพิจารณาจากรูปแบบ[6] แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีของใบมีดขวาน บางคนอาจจะระบุว่าเป็นของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 แทน[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Georges Legrain: Statues et statuettes de rois et de particuliers, in Catalogue général des antiquités égyptiennes du Musée du Caire, Le Caire, 1906. I, 171 pp., 79 pls, available copyright-free online, published in 1906, see p. 18 and p. 109
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Georges Legrain: Sur une stèle de Senousrit IV, in: "Institut Français d'Archéologie Orientale; Mission Archéologique Française; Recueil de travaux relatifs à la philologie et à l'archéologie égyptiennes et assyriennes: pour servir de bulletin à la Mission Française du Caire", (1908), available online
  3. 3.0 3.1 3.2 G. Legrain, Annales du Service des Antiquités de l’Egypte 2 (1901), 272
  4. J. von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964.
  5. J. von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46. Mainz am Rhein, 1997.
  6. 6.0 6.1 6.2 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period c. 1800-1550 B.C, Carsten Niebuhr Institute Publications 20., Copenhagen, 1997, ISBN 8772894210.
  7. Norbert Dautzenberg: SeneferibRe Sesostris IV. – ein König der 17. Dynastie?, (Göttinger Miszellen 129), Göttingen 1992, p. 43–48
  8. On Digital Egypt for Universities
  9. Statue Cairo CG 42026, description in G. Legrain, Annales du Service des Antiquités de l’Egypte 2 (1901), 272; and Legrain 1906, I, 15–16, pl.16.
  10. Axe-blade: Petrie Museum of Egyptian Archaeology 16324, visible online here[ลิงก์เสีย]. Flinders Petrie: Tools and Weapons, 9, pl. 5